ช่วงวัย 1-3 เดือน
ในช่วงวัยนี้ควรเน้นการเล่นที่ส่งเสริมการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสเป็นหลักเช่น การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่ ของเล่นที่มีสีสันสดใส หรือมีเสียงดังชัดเจน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้อย่างง่ายดาย แม้ขณะกำลังเลี้ยงลูก เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อมหรืออาบน้ำให้ลูกก็สามารถสัมผัสลูกอย่างนุ่มนวล นวดผ่อนคลายให้ลูก เล่นปูไต่ พูดคุยกับลูกและร้องเพลงให้ลูกฟัง
ช่วงวัย 4-6 เดือน
ในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกอย่างมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มสนใจร่างกายของตนและสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เช่น สนใจมองการเคลื่อนไหวของแขนขาตนเอง เริ่มคว้าสิ่งของ และชอบสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยหาสิ่งของในบ้านที่มีลักษณะผิวสัมผัสต่าง ๆ กันทั้งนุ่ม แข็ง เรียบ ขรุขระ มาให้ได้คว้าจับโดยแกว่งของล่อให้ลูกยื่นมือมาคว้าหรือแขวนของสิ่งนั้นไว้เหนือเตียงให้ลูกมองและคว้า อุ้มลูกแล้วร้องเพลงที่มีการเคลื่อนไหวโยกตัวไปมา พูดคำสั้น ๆ ซ้ำ ๆ กับลูกให้ออกเสียงตาม
ช่วงวัย 7-9 เดือน
เด็กวัยนี้จะเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เข้าใจภาษามากขึ้น เข้าใจการหายไปของวัตถุที่เคยเห็นในสายตา สามารถหยิบของชิ้นเล็กได้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ร้องเพลงที่มีการตอบสนองพร้อมท่าทางประกอบช่วยจับลูกให้เคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง ทำท่าต่าง ๆ ให้ลูกหัดทำตาม เช่น ปรบมือ บ๊ายบาย กระตุ้นให้ลูกคลานหรือคืบ โดยเอาของเล่นมาวางตรงหน้า เมื่อลูกเข้ามาใกล้ก็จับของเล่นให้ห่างออกไป ใส่ของชิ้นเล็กที่ไม่อันตรายเช่น ลูกเกดในถ้วยเล็ก ๆ แล้วคว่ำปากถ้วยลง ให้ลูกหัดหยิบลูกเกดใส่ถ้วยเองทีละชิ้นด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ หรือให้ลูกกินสิ่งของต่าง ๆ ที่ออกจากกล่อง
ช่วงวัย 10-12 เดือน
สำหรับวัยนี้ ทารกสามารถเข้าใจภาษาและสื่อสารได้ดีขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวได้เองมากขึ้นโดยการเกาะยืนหรือเกาะเดินจนเดินก้าวแรกได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกโดยการพูดคุยเล่าเรื่องต่าง ๆ เล่านิทานหรืออ่านหนังสือนิทานภาพสั้น ๆ ทําเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้ลูกทำตาม เช่นแมวร้อง เหมียว เหมียว ให้ลูกดูภาพต่าง ๆ แล้วชี้บอกว่าสิ่งนั้นคืออะไรซ้ำ ๆ ให้ลูกทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น บ๊ายบาย หากลูกทำได้ก็ให้รางวัลเช่น กอด เหมือนเป็นการเล่นเกม หาของที่ลูกสนใจมาตั้งและชี้ชวนให้ลูกยืนและเกาะเดินไปหยิบเอง ให้ลูกรู้จักการหยิบผลไม้ชิ้นเล็ก ๆ ขึ้นมาทานเอง โดยเมื่อทำได้ก็ชมเชยและให้รางวัลอย่างสนุกสนาน เพียงเท่านี้ก็เป็นการเล่นง่าย ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้
คณะผู้จัดทำ.(2553). คู่มือความรู้
หลักการใช้คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี. ครั้งที่ 1.
สถาบันราชานุกูลกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข : บริษัท บียอนด์
พับลิสชิ่ง จำกัดจรรจา สุวรรณทัต. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการเด็กและเลี้ยงดู. พิมพ์ครั้งที่30. นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มานี ปิยะอนันต์. (2548). นมแม่. พิมพ์ครั้งที่1. นครปฐม: บริษัท ศิริยอดการพิมพ์ละเอียด แจ่มจันทร์ และสุรี ขันธรักษวงศ์.(2548) สาระทบทวนการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น.
พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จุดทอง จำกัด
ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ธันยวีร์ ภูธนกิจ, สุชีรา ฉัตรเพริดพราย, ศศิธร ลิขิตนุกูล และจรุงจิตร์ งามไพบูลย์.
(2553). Update Vaccine : From Infancy to Chidhood and Adolescence. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พูนสุข ช่วยทอง. (2548).ครอบครัวและคุณภาพเด็ก. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิฑูรย์การ
ปก
"Momyeditor"(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก www.momypedia.com 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น