พัฒนาการด้านสติปัญญาของวัยทารก
ทารกอายุ ตั้งแต่แรกเกิด เป็นระยะที่มีความสำคัญมากเป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุด ในด้านร่างกายและสติปัญญา
จากผลการคัดกรองพัฒนาการด้านสติปัญญาเด็กทั่วประเทศ
โดยกรมอนามัย พบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าประมาณ 30%
โดยพบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการด้านภาษาและสติปัญญาล่าช้ามากที่สุดเกิดจากการเลี้ยงดูเด็กขาดประสบการณ์
ทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม ดังนั้น เราจึงอยากส่งเสริมด้านสติปัญญาตั้งแต่เด็กวัยทารก
ช่วงวัย 1-3 เดือน
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- จ้องหน้า สบตาและสังเกตใบหน้ามารดาขณะที่ให้นม รวมทั้งสังเกตความซับซ้อนของลักษณะสิ่งของ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ทั้งนี้ ทารกจะชอบมองมือหรือเท้าตัวเองและเริ่มเล่นนิ้วมือ
- เมื่ออายุครบ 2 เดือน เด็กจะเล่นนิ้วตัวเอง และมองตามสิ่งของที่เคลื่อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง และเมื่ออายุครบ 3 เดือน เด็กจะมองสิ่งต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมารอบตัว
- มีปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยิน โดยอาจนิ่งฟังหรือยิ้มตอบ ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
- เมื่ออายุครบ 3 เดือน จะสนใจรูปร่างหรือเสียงที่ดึงดูดความสนใจ รวมทั้งหันมองตามเสียงนั้น
- หัดพูดอ้อแอ้
ช่วงวัย 4-6 เดือน ทารกในช่วงวัยนี้จะเริ่มรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กจะเรียนรู้และต้องการจัดการทุกสิ่งด้วยตัวเอง โดยพัฒนาการทารกช่วงวัย 4-6 เดือน เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา ดังนี้
-
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- แยกความแตกต่างของใบหน้าคนแปลกหน้าและคนที่รู้จักได้
- เริ่มให้ความสนใจกับของเล่น สังเกตนิ้วมือและเท้าของตัวเอง รวมทั้งมองเงาสะท้อนของตัวเอง
- หัวเราะออกมาเสียงดัง และยังพูดอ้อแอ้
- เลียนแบบการแสดงสีหน้าและเสียงของพ่อแม่ ทั้งนี้ ทารกอาจพูดอ้อแอ้และหยุดเว้นช่วง เพื่อรอให้คนที่ตัวเองสื่อสารด้วยโต้ตอบกลับมา
-
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- มีปฏิกิริยาต่อถ้อยคำที่คุ้นเคย โดยเด็กอาจหยุดหรือจ้องหน้าแม่ หากได้ยินคำว่า "ไม่" รวมทั้งหันมองเมื่อได้ยินคนเรียกชื่อตัวเอง
- แยกอารมณ์ความรู้สึกได้จากการฟังน้ำเสียง
- เริ่มเปล่งเสียงพูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้
- รู้จักเรียนรู้การใช้สิ่งของต่าง
ช่วงวัย 10-12 เดือน ช่วงสุดท้ายของพัฒนาการทารกในช่วง 1 ปีแรกนี้ นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของทารก เนื่องจากทารกอายุ 10-12 เดือน กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นเด็กเล็กหัดเดินได้ ทารกจะมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ดังนี้-
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- ส่งเสียงอ้อแอ้และพูดคำง่าย ๆ ได้ เช่น คำว่า "หม่ำ ๆ" “มามา” “ปาปา” หรือ "ดาดา" ได้
- มักพูดคำที่พูดได้บ่อยอยู่ 2-3 คำ ซึ่งมักเป็นคำว่า "หม่ำ ๆ" “มามา” และ "ปาปา"
- เลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่ เช่น หวีผมตัวเอง กดรีโมตเล่น หรือทำเป็นคุยโทรศัพท์ เป็นต้น
- ชี้ไปที่สิ่งของที่อยากได้เพื่อให้พ่อแม่สนใจ
- เข้าใจประโยคบางประโยคที่คนใกล้ชิดสื่อสารออกมา รวมทั้งทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
- เปล่งเสียงอุทานออกมาได้
- โบกไม้โบกมือ หรือชี้นิ้วไปยังสิ่งของที่อยู่เกินเอื้อม
- พัฒนาการทางสติปัญญา
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อ
เผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 28 มิถุนายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-
20171010123052.pdf
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข.คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี สำหรับผู้ปกครอง.
[อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561].เข้าถึงได้จาก
http://www.thaichilddevelopment.com/images/doc/Ebook1.pdf
Tapana Kamta.พัฒนาการเด็กล่าช้า.กรมสุขภาพจิตทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี,
[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2561].
หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช, Nuengruetai Kue-iad, Bhunyabhadh
Chaimay and Somkiattiyos Woradet. “สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของ
เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี:การทบทวนวรรณกรรม Early Childhood Development among Thai
Children Aged Under 5 Years:A Literature Review.” วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ
สาธารณสุขภาคใต้. ปีที่5, ฉบับที่1(มกราคม - เมษายน 2561) : 281
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น